เว็บบล็อกเพื่อการเรียนรู้ น.ส.ศิริลักษณ์ แสนศิริ 55243405323

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


เขียนโดย Unknown ที่ 23:15
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: ส่งความคิดเห็น (Atom)

กลุ่มที่ 5

  • 55243405270 น.ส.กรณ์ภัสสรณ์ มอไธสง
  • 55243505297 น.ส.ปนัดดา พลซักซ้าย
  • 55243405299 น.ส.ประภัสสร สืบสน
  • 55243405301 น.ส.ปาณิศรา อัตถานัย
  • 55243405331 น.ส.รฎาพร จินดามัง
  • 55243405337 น.ส.อรพรรณ รู้บุญ

คลังบทความของบล็อก

  • ▼  2013 (5)
    • ►  ตุลาคม (3)
    • ▼  กรกฎาคม (2)
      • weblogเพื่อการเรียนรู้วิชา AGE143 เทคโนโลยีสารส...

เกี่ยวกับฉัน

Unknown
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

ตอบคำถามท้ายบท

1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังกล่าวต่อไปนี้

Hareware ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

Software ซอฟต์แวร์ หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้

Peopleware คือ บุคลากร หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น

Data คือ ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

Information คือสารสนเทศ เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข กาควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย

2.หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ)จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hareware Software และ Peopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย

-ร้านอาหาร

-ร้านขายของสะดวกซื้อ

-โรงเรียนกวดวิชา

-หอพักหรือโรงแรม

โรงเรียนกวดวิชา การลงทะเบียนเรียน นักเรียนแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัด คือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องเรียนได้จำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาใหม่ใดแทนได้บ้าง

aaaaa
1.ในการลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่า ติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักเรียนเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง
2. โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักเรียนลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักเรียนต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
3. นักเรียนจ่ายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
4. เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง รวมทั้งสิ้นมีนักเรียนลงทะเบียนกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเรียนของนักเรียนในแต่ละรายวิชา แจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้น ๆ ทราบ

5. ในกรณีที่นักเรียนต้องการเพิ่ม ยกเลิก หรือ ถอนการลงทะเบียนในภายหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักศึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ประจำวิชา แล้วนำเอกสารมาให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสวิชาที่เพิ่มหรือถอน โปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางด้านการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ในระบบการลงทะเบียน มีการเปลี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่าง ๆ

3.ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ





ตอบคำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
1.1. เทคโนโลยี (Technology)

คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้นตัวอย่าง เทคโนโลยี ที่ใช้ในชีวิตปะจำวัน เช่น พัดลม , โทรทัศน์ , โทรศัพท์ , คอมพิวเตอร์ , เครื่องปรับอากาศ , ตู้เย็น , กล้องถ่ายรูป ฯลฯ

1.2. สารสนเทศ (information)คือ เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมายตัวอย่าง สารสนเทศ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สื่อต่างๆ, TV,การหาข้อมูลในคอมพิวเตอร์ , การโอตังผ่านระบบออนไลน์, การใช้โทรสัพมือถือ การใช้ E-mail ฯลฯ

1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology, IT)คือ เทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
ตัวอย่าง เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบATM เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้เอทีเอ็ม เนื่องจาก ATM ให้บริการ24ชั่วโมง ส่วนธนาคาร ให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว ทุกคนจึงหันมาใช้ตู้ATM กันหมด เพื่อความสะดวกสบาย

1.4. ข้อมูล (Data)

คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น ตัวอย่าง ข้อมูล เช่น การรับรู้ข้อมูลทางตา เช่น การมองเห็น, การรับรู้ทางหู เช่น การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู, การรับรู้ทางมือ เช่น การสัมผัสกับข้อมูล, การรับรู้ทางจมูก เช่น การได้กลิ่น, การรับรู้ทางปาก เช่น การรู้สึกถึงรส

1.5. ฐานข้อมูล (Database)คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่าง ฐานข้อมูล เช่น ระบบธนาคาร คือ การฝากตัง-การโอนตัง, ระบบการจองตั๋วรถทัวร์ คือ การจองที่นั่ง

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย

1.
ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่า ระบบการประมวลผลรายการ เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ เช่น การทำบัญชี การจองตั๋ว เป็นต้น
2.ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพสินค้า ที่ได้จากกระบวนการผลิต
3.ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น สารสนเทศที่เป็นรายงานสรุปยอดรวมของการขายสินค้าในแต่ละภาค เป็นต้น
4.ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า สภาวะการตลาด ความสามารถของคู่แข่งขัน เป็นต้น

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง

1.ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น การทำบัญชี การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดขาย รายงานรายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น
3.ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4.ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

หน้าต่างรูปภาพ ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.