วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556


1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงการกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งคือ อาชญากรรมไซเบอร์
อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์ 
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
2.จงอธิบายคำว่า
Hackerคือ  เป็นคำที่ใช้กับบางคนที่หมายถึง โปรแกรมเมอร์ชาญฉลาดและโดยคนอื่น โดยเฉพาะคนในสื่อยอดนิยม หมายความว่า บางคน ผู้พยายามเจาะระบบคอมพิวเตอร์คำว่า hacker นิยมใช้ในสื่อเพื่ออธิบายคนบางคน ผู้พยายามเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามปกติ hackerประเภทนี้จะเป็นโปรแกรมเมอร์หรือวิศวกรที่มีความสามารถกับความรู้ทางเทคนิคเพียงพอเพื่อทำความเข้าใจจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับการใช้งานมากกว่านี้
Cracker คือ ผู้ที่พยายามหาช่องโหว่ของระบบ, โปรแกรม เพื่อเข้าไปบุกรุก ด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่ดี เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล เป็นต้น
Spam (สแปม) คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )
ม้าโทรจัน ( Trojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเว็บไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเว็บประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับก๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
3.จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หริอ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำความผิดและบทลงโทษมา 5 ตัวอย่าง
การกระทำความผิดตาม มาตรา 6 คือ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไม่ว่าการรู้ถึงมาตรการป้องกันนั้นจะได้มาโดยชอบหรือไม่ก็ตาม และนำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยเป็นที่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำความผิดตาม มาตรา 10 คือ การขัดขวางการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.เป็นการกระทำความผิดที่มีวัตถุประสงค์มุ่งต่อข้อมูลของคอมพิวเตอร์
การกระทำความผิดตาม มาตรา 7 คือ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีการป้องกันไว้เป็นพิเศษโดยมิชอบ ซึงการเข้าถึง วิธีการเข้าถึง ตลอดถึงช่องทางในการเข้าถึงนั้นมีส่วนคล้ายกับความผิดตามมาตรา 5 ดังที่ได้กล่าวไว้ในส่วนต้นแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 การกระทำความผิดตาม มาตรา 8 คือ การดักรับข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรับการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำความผิดตาม มาตรา 9 คือ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมทั้งหมดหรือบ่างส่วนก็ตาม และผู้แก้ไขนั้นไม่มีสิทธิแก้ไข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำความผิดตาม มาตรา 11 คือ การส่งข้อมูล หรือ E-mail ให้ผู้อื่น โดยไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล โดยทำให้ผู้ที่รับข้อมูลนั้นเกิดความรำคาญ หรือรบกวนผู้อื่นนั้นเอง การกระทำนี้ในปัจจุบันเราเรียกการกระทำนี้ว่า Spam Mail ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท




วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ประเภทมีสาย                                                                                                                                     ตอบประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้ (Wire pair หรือ Twisied pair หรือสายโทรศัพท์), สายโคแอกเชียล (Coaxial Cables), เส้นใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics)
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง


11
 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์

 

1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP
12
 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์
 
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว 
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด


2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
 

                                     รูปของสายโคแอกเชียล                                  

ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล 
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด 

3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
 

รูปของสายใยแก้วนำแสง

ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก

ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

2.การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร
1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย
4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น
5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล

ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น 

3.หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบของระบบเครือข่าย (Lan Topology)แบบใดเพราะอะไร
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) 
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป                                                                                       




ข้อดีการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
4.อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร                                         ด้านการศึกษา 
         - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น 

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง                                                                                                                                                           แบ่งตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
         การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีต 
โดยการนำอุปกรณ์ง่ายๆ มาช่วยในการคำนวณ เช่น ลูกคิด ปากกา ดินสอ เป็นต้น การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับการคำนวณที่ไม่ ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งมักพบในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก
         
การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล(Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลในการประมวลผล เช่น เครื่องทำบัญชี (Accounting machine) เครื่องเจาะบัตร เครื่องเรียงบัตร เครื่องแปลข้อมูล เครื่องตรวจทานบัตร เป็นต้น 
         การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล ส่วนใหญ่มักจะใช้ กับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งงานที่มีการประมวลผลที่ยุ่งยากซับซ้อน  การนำเอาคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมาย มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อถืออย่างมากในปัจุบันชึ่งเราอาจเรียกการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing: EDP) เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก และให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจและระบบงานที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์ อ้างอิง และตัดสินใจ รวมทั้งโปรแกรมระบบงานต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการประมวลผลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ                                                   
 1. บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท
2. ไบท์ (Byte) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น
3. เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา นามสกุล ที่อยู่ คณะ และสาขาวิชา เป็นต้น
4. ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล เช่น ระเบียนนักศึกษาคนที่ 1 ประกอบด้วยเขตข้อมูล รหัสนักศึกษา 4800111 , ชื่อ : สาธิตนามสกุล : กิตติพงศ์โปรแกรมวิชา : บรรณารักษศาสตร์คณะ : มนุษยศาสตร์ เป็นต้น
5. แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา  ซึ่งประกอบไปด้วย ระเบียนจำนวน 5 ระเบียน หรือ 5 แถว ซึ่งก็คือ รายละเอียดของนักศึกษาจำนวน 5 คน นั่นเอง
6. ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน ผลการเรียน และอาจารย์ผู้สอน เป็นต้น
3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่สามารถมีระบบใดบ้างและระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
               ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา    เช่นเดียวกันกับระบบธุรกิจก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง  สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ยังอยู่ในภาวะวิกฤติ    จึงยังต้องการ  การวิเคราะห์  การวางแผนและการตัดสินใจอย่างถูกต้อง  รวดเร็วเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้     สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยและทันท่วงที    ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งยวดต่อการดำเนินการ  การใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจการลงทุนทางธุรกิจและการวางแผน  กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้า    ฉะนั้นก็อาจกล่าวได้ว่าการมีข้อมูลมากทำให้มีโอกาสและมีชัยชนะเหนือคู่แข่งในระดับหนึ่ง  แต่ทว่าหากมองในทางกลับกัน  การมีข้อมูลจำนวนมากแต่ขาดการจัดเรียงให้เป็นระบบ   การเข้าถึงและการค้นคืนก็จะก่อให้เกิดการยุ่งยาก  ธุรกิจอาจเกิดการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้  เพราะฉะนั้นในยุคที่ผู้บริหารมีความต้องการใช้ข้อมูล  เพื่อการตัดสินใจมากขึ้น  การจัดระเบียบข้อมูล  เพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่าและผ่านการกลั่นกรองแล้วแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจให้ทันต่อเหตุการณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล     และในปัจจุบันวิวัฒนาการต่าง ๆ   เติบโตอย่างรวดเร็ว  ระบบฐานข้อมูลที่เคยมีอยู่เพียงในหน่วยงาน  หรือในองค์กร  สามารถขยายติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันได้โดยระบบเครือข่ายต่างๆบนอินเตอร์เน็ต                                                                                                                 4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบเบชและแบบเรียลไทมฺ                                                                                            1.   การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 7 วัน หรือ 1 เดือน แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว เช่น การคำนวณค่าบริการน้ำประปา โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ 1 เดือน แล้วนำมาประมวลผลเป็นค่าน้ำประปาในครั้งเดียวการประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง เนื่องจากข้อมูลอาจเกิดความคลาดเคลื่อนก่อนการประมวลผล แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย                                                                                                                                                              2.    การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing)เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที เช่น การฝากและถอนเงินกับธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที ทำให้ยอดเงินฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงการประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก
                                                                                                                                                                                                                                                                             




วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

weblogเพื่อการเรียนรู้วิชา AGE143 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต (Information Technology for life)
อ.จินตะหรา งามเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์ระยอง